วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สูตรการคำนวณหากำลัง w
เคยเห็นมีในเวฟมี้นะครับ เมื่อถามมาอีกก็หามาให้ แถมให้อีก 2 สูตรจะได้หายสงสัย
Calculating Power
การคำนวณกำลังของเครื่องขยาย(Amplifier) นั้นได้มาจากการกำหนดขององค์กรต่างๆเพื่อให้เครื่องขยายเหล่านั้นมีข้ออ้างอิงเปรียบเทียบกันได้ เท่าที่มีการใช้กันทั่วๆไปจะมีนิยมใช้กันอยู่ 3 มาตรฐาน (มีใช้อย่างอื่นเหมือนกันแต่ไม่นิยม)
1.ระบบกำลังแบบ คอนตินิวอัส อาร์ เอ็ม เอส (Continuous R M S Power)
กำหนดขึ้นโดยข้อตกลงของสมาคมอุตสาหกรรม อิเลคทรอนิคส์( Electronics Industrial Association ;EIA)
โดยการใช้ตัวต้านทานค่า 8 โอมห์ ต่อป็นดัมมี่โหลดแทนลำโพง
1.ป้อนสัญญาณ สแควเวฟ ความถี่ 1,000 Hz
2.ปรับเครื่องขยายให้แรงที่สุด โดยปรับทุ้ม,แหลม ไม่ให้มากเกินไป
3.ใช้VTVM (โวลท์มีเตอร์มี่มีอินพุทอิมพีแดนซ์สูงมาก)วัดคร่อม ตัวต้านทาน 8โอมห์ นำค่าที่ได้มาคำนวณโดยใช้สูตร
P=E2/R (P=Eยกกำลัง2/R)
โดย P =กำลังของเครื่องขยาย
E=แรงดันที่วัดได้จากตัวต้านทาน
R= ค่าของตัวต้านทาน
ตัวอย่าง
วัดแรงดันที่ตัวต้านทานได้ 35 โวลท์ กำลังของเตรื่อง = 35 2 /8
= 153 W
2.ระบบกำลังแบบไดนามิค มิวสิค เพาเวอร์(Dynamic Music Power)
ระบบนี้รับรองโดยสถาบัน ไฮไฟ ( Institute of High Fidelity) เรียกสั้นๆว่า IHF โดยการใช้ความถี่ที่ 20-20,000Hz ขนาด 1โวลท์ป้อนที่เครื่องขยาย แล้วพล็อทเคอฟหาค่ากำลังที่เครื่องสามารถให้ได้ในทุกความถี่ ซึ่งจะพบว่าค่าที่ได้จะสูงกว่าค่า RMS ถึง 0.7 เท่า ตัวอย่าง
วัดกำลังแบบ Music Powerได้ 70 W IHF จะเป็น RMS = 70x.0.7 = 49 W RMS
3.ระบบกำลังแบบอินแทนทาเนียส พีคเพาเวอร์ (Istantaneuos Peak Power)
ระบบนี้ใช้ชื่อย่อว่า IPP เป็นระบบที่หากำลังสูงสุดของเครื่องขยายที่จะทำได้ในช่วงเวลา 2-3 มิลลิเซคคัล ค่าที่ได้จะมีค่าสูงมากเนื่องจากจ่ายกำลังในช่วงสั้นๆ โดยปรกติจะมีค่า ประมาณ 0.05เท่าของ RMS
ตัวอย่าง
วัดกำลังได้ 220 W IPP จะเป็น RMS = 220 x 0.05
= 11 W RMS
ค่ากำลังแบบนี้เป็นการใช้เพื่อการค้าเท่านั้น จะพบมากในเครื่องโนเนมเป็นส่วนมาก
ที่มา:ประกิต อ่องสร้อย ,
1ไฟฟ้า-อีเลคทรอนิคส์ ปีที่ 1ฉบับที่ 7
2 Electronics Edition2
Calculating Power
การคำนวณกำลังของเครื่องขยาย(Amplifier) นั้นได้มาจากการกำหนดขององค์กรต่างๆเพื่อให้เครื่องขยายเหล่านั้นมีข้ออ้างอิงเปรียบเทียบกันได้ เท่าที่มีการใช้กันทั่วๆไปจะมีนิยมใช้กันอยู่ 3 มาตรฐาน (มีใช้อย่างอื่นเหมือนกันแต่ไม่นิยม)
1.ระบบกำลังแบบ คอนตินิวอัส อาร์ เอ็ม เอส (Continuous R M S Power)
กำหนดขึ้นโดยข้อตกลงของสมาคมอุตสาหกรรม อิเลคทรอนิคส์( Electronics Industrial Association ;EIA)
โดยการใช้ตัวต้านทานค่า 8 โอมห์ ต่อป็นดัมมี่โหลดแทนลำโพง
1.ป้อนสัญญาณ สแควเวฟ ความถี่ 1,000 Hz
2.ปรับเครื่องขยายให้แรงที่สุด โดยปรับทุ้ม,แหลม ไม่ให้มากเกินไป
3.ใช้VTVM (โวลท์มีเตอร์มี่มีอินพุทอิมพีแดนซ์สูงมาก)วัดคร่อม ตัวต้านทาน 8โอมห์ นำค่าที่ได้มาคำนวณโดยใช้สูตร
P=E2/R (P=Eยกกำลัง2/R)
โดย P =กำลังของเครื่องขยาย
E=แรงดันที่วัดได้จากตัวต้านทาน
R= ค่าของตัวต้านทาน
ตัวอย่าง
วัดแรงดันที่ตัวต้านทานได้ 35 โวลท์ กำลังของเตรื่อง = 35 2 /8
= 153 W
2.ระบบกำลังแบบไดนามิค มิวสิค เพาเวอร์(Dynamic Music Power)
ระบบนี้รับรองโดยสถาบัน ไฮไฟ ( Institute of High Fidelity) เรียกสั้นๆว่า IHF โดยการใช้ความถี่ที่ 20-20,000Hz ขนาด 1โวลท์ป้อนที่เครื่องขยาย แล้วพล็อทเคอฟหาค่ากำลังที่เครื่องสามารถให้ได้ในทุกความถี่ ซึ่งจะพบว่าค่าที่ได้จะสูงกว่าค่า RMS ถึง 0.7 เท่า ตัวอย่าง
วัดกำลังแบบ Music Powerได้ 70 W IHF จะเป็น RMS = 70x.0.7 = 49 W RMS
3.ระบบกำลังแบบอินแทนทาเนียส พีคเพาเวอร์ (Istantaneuos Peak Power)
ระบบนี้ใช้ชื่อย่อว่า IPP เป็นระบบที่หากำลังสูงสุดของเครื่องขยายที่จะทำได้ในช่วงเวลา 2-3 มิลลิเซคคัล ค่าที่ได้จะมีค่าสูงมากเนื่องจากจ่ายกำลังในช่วงสั้นๆ โดยปรกติจะมีค่า ประมาณ 0.05เท่าของ RMS
ตัวอย่าง
วัดกำลังได้ 220 W IPP จะเป็น RMS = 220 x 0.05
= 11 W RMS
ค่ากำลังแบบนี้เป็นการใช้เพื่อการค้าเท่านั้น จะพบมากในเครื่องโนเนมเป็นส่วนมาก
ที่มา:ประกิต อ่องสร้อย ,
1ไฟฟ้า-อีเลคทรอนิคส์ ปีที่ 1ฉบับที่ 7
2 Electronics Edition2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้ทำงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้วจึงนำมาใช้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางด้านธุรกิจในเวลาต่อมา ระยะแรกนี้เรียกว่าระยะการประมวลผลข้อมูล (data processing age) ข้อมูลที่ได้มาจะต้องผ่านการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความก็อาจต้องมีการเรียงลำดับ และข้อมูลตัวเลขก็อาจต้องมีการคำนวณ จากนั้นจึงทำสรุปได้เป็นสารสนเทศออกมา ถ้าข้อมูลที่นำมาประมวลผลมีจำนวนมากจนเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ในเวลาอันสั้น ก็จำเป็นจะต้องนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บและประมวลผล เมื่อข้อมูลอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ การแก้ไขหรือเรียกค้นสามารถทำได้ง่ายและสะดวก ขณะเดียวกันการทำสำเนาและการแจกจ่ายข้อมูล ก็สามารถดำเนินการได้ทันทีงานที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลมักเก็บในลักษณะแฟ้มข้อมูล ตัวอย่างเช่น การทำบัญชีเงินเดือนของพนักงานในบริษัท ข้อมูลเงินเดือนของพนักงานที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะรวมกันเป็นแฟ้มข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อพนักงาน เงินเดือน และข้อมูลสำคัญอื่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเรียกแฟ้มเงินเดือนมาประมวลผลและสรุปผลรวมยอดขั้นตอนการทำงานจะต้องทำพร้อมกันทีเดียวทั้งแฟ้มข้อมูล ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)แต่เนื่องจากระบบงานที่เกิดขึ้นภายในองค์การค่อนข้างซับซ้อน เช่น รายได้ของพนักงานที่ได้รับในแต่ละเดือน อาจไม่ได้มาจากอัตราเงินเดือนประจำเท่านั้น แต่อาจมีค่า นายหน้าจากการขายสินค้าด้วย ในลักษณะนี้แฟ้มข้อมูลการขาย จะสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเงินเดือน และสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลอื่นๆ เช่น ค่าสวัสดิการ การหักเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ระบบข้อมูลจะกลายเป็นระบบที่มีแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มเชื่อมสัมพันธ์กัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียกแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ ระบบนี้เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล (database system)
การจัดการข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูล จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์ซึ่งนำไปช่วยงานด้านต่างๆ อย่างได้ผล ระบบข้อมูลที่สร้างเพื่อใช้ในบริษัทจะเป็นระบบฐานข้อมูลของ กิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงสารสนเทศที่เป็นจริงของบริษัท สามารถนำข้อเท็จจริงนั้นไปวิเคราะห์และนำผลลัพธ์ไปประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายการจัดการต่าง ๆในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อยู่ที่การใช้สารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ แนวโน้มของระบบ จัดการข้อมูลของยุคนี้ เริ่มเปลี่ยนจากระบบ งานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบ ตอบสนองทันที ที่เรียกว่า การประมวลผล แบบเชื่อมตรง (online processing) เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่างๆ ผ่านเครื่องรับ – จ่ายเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM)ขณะที่ประเทศต่างๆ ยังอยู่ในยุคของ การประมวลผลสารสนเทศในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ได้พัฒนาเข้าสู่การประมวลผลฐานความรู้ (knowledge base processing) โดยให้คอมพิวเตอร์ใช้ง่าย รู้จักตอบสนอง กับผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่ต้องอาศัย การตัดสินใจระดับสูงด้วยการเก็บสะสมฐาน ความรู้ไว้ในคอมพิวเตอร์ และมีโครงสร้าง การให้เหตุผล เพื่อนำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนการประมวลผลฐานความรู้เป็นการ ประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์ เข้าด้วยกัน ตัวอย่าง ชิ้นงานได้แก่ หุ่นยนต์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆการสำรวจ ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ในภาวะสังคมปัจจุบัน
หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นตัวชี้บอกว่า
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคสารสนเทศ
ดังจะเห็นได้จากวงการศึกษาสนใจให้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์งานต่างๆ
มากขึ้น การบริหารธุรกิจของบริษัทห้างร้านต่างๆ
ตลอดจนหน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในองค์การด้วยการเก็บข้อมูล
ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำผลลัพธ์มาช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ
ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้ทำงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้วจึงนำมาใช้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางด้านธุรกิจในเวลาต่อมา ระยะแรกนี้เรียกว่าระยะการประมวลผลข้อมูล (data processing age) ข้อมูลที่ได้มาจะต้องผ่านการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความก็อาจต้องมีการเรียงลำดับ และข้อมูลตัวเลขก็อาจต้องมีการคำนวณ จากนั้นจึงทำสรุปได้เป็นสารสนเทศออกมา ถ้าข้อมูลที่นำมาประมวลผลมีจำนวนมากจนเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ในเวลาอันสั้น ก็จำเป็นจะต้องนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บและประมวลผล เมื่อข้อมูลอยู่ภายในคอมพิวเตอร์ การแก้ไขหรือเรียกค้นสามารถทำได้ง่ายและสะดวก ขณะเดียวกันการทำสำเนาและการแจกจ่ายข้อมูล ก็สามารถดำเนินการได้ทันทีงานที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลข้อมูลมักเก็บในลักษณะแฟ้มข้อมูล ตัวอย่างเช่น การทำบัญชีเงินเดือนของพนักงานในบริษัท ข้อมูลเงินเดือนของพนักงานที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะรวมกันเป็นแฟ้มข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อพนักงาน เงินเดือน และข้อมูลสำคัญอื่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเรียกแฟ้มเงินเดือนมาประมวลผลและสรุปผลรวมยอดขั้นตอนการทำงานจะต้องทำพร้อมกันทีเดียวทั้งแฟ้มข้อมูล ที่เรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing)แต่เนื่องจากระบบงานที่เกิดขึ้นภายในองค์การค่อนข้างซับซ้อน เช่น รายได้ของพนักงานที่ได้รับในแต่ละเดือน อาจไม่ได้มาจากอัตราเงินเดือนประจำเท่านั้น แต่อาจมีค่า นายหน้าจากการขายสินค้าด้วย ในลักษณะนี้แฟ้มข้อมูลการขาย จะสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเงินเดือน และสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลอื่นๆ เช่น ค่าสวัสดิการ การหักเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ระบบข้อมูลจะกลายเป็นระบบที่มีแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มเชื่อมสัมพันธ์กัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียกแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ ระบบนี้เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล (database system)
การจัดการข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูล จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์ซึ่งนำไปช่วยงานด้านต่างๆ อย่างได้ผล ระบบข้อมูลที่สร้างเพื่อใช้ในบริษัทจะเป็นระบบฐานข้อมูลของ กิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงสารสนเทศที่เป็นจริงของบริษัท สามารถนำข้อเท็จจริงนั้นไปวิเคราะห์และนำผลลัพธ์ไปประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบายการจัดการต่าง ๆในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อยู่ที่การใช้สารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ แนวโน้มของระบบ จัดการข้อมูลของยุคนี้ เริ่มเปลี่ยนจากระบบ งานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบ ตอบสนองทันที ที่เรียกว่า การประมวลผล แบบเชื่อมตรง (online processing) เช่น การฝากถอนเงินของธนาคารต่างๆ ผ่านเครื่องรับ – จ่ายเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM)ขณะที่ประเทศต่างๆ ยังอยู่ในยุคของ การประมวลผลสารสนเทศในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ได้พัฒนาเข้าสู่การประมวลผลฐานความรู้ (knowledge base processing) โดยให้คอมพิวเตอร์ใช้ง่าย รู้จักตอบสนอง กับผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่ต้องอาศัย การตัดสินใจระดับสูงด้วยการเก็บสะสมฐาน ความรู้ไว้ในคอมพิวเตอร์ และมีโครงสร้าง การให้เหตุผล เพื่อนำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนการประมวลผลฐานความรู้เป็นการ ประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์ เข้าด้วยกัน ตัวอย่าง ชิ้นงานได้แก่ หุ่นยนต์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆการสำรวจ ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)