วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สูตรการคำนวณหากำลัง w

เคยเห็นมีในเวฟมี้นะครับ เมื่อถามมาอีกก็หามาให้ แถมให้อีก 2 สูตรจะได้หายสงสัย
Calculating Power
การคำนวณกำลังของเครื่องขยาย(Amplifier) นั้นได้มาจากการกำหนดขององค์กรต่างๆเพื่อให้เครื่องขยายเหล่านั้นมีข้ออ้างอิงเปรียบเทียบกันได้ เท่าที่มีการใช้กันทั่วๆไปจะมีนิยมใช้กันอยู่ 3 มาตรฐาน (มีใช้อย่างอื่นเหมือนกันแต่ไม่นิยม)
1.ระบบกำลังแบบ คอนตินิวอัส อาร์ เอ็ม เอส (Continuous R M S Power)
กำหนดขึ้นโดยข้อตกลงของสมาคมอุตสาหกรรม อิเลคทรอนิคส์( Electronics Industrial Association ;EIA)
โดยการใช้ตัวต้านทานค่า 8 โอมห์ ต่อป็นดัมมี่โหลดแทนลำโพง
1.ป้อนสัญญาณ สแควเวฟ ความถี่ 1,000 Hz
2.ปรับเครื่องขยายให้แรงที่สุด โดยปรับทุ้ม,แหลม ไม่ให้มากเกินไป
3.ใช้VTVM (โวลท์มีเตอร์มี่มีอินพุทอิมพีแดนซ์สูงมาก)วัดคร่อม ตัวต้านทาน 8โอมห์ นำค่าที่ได้มาคำนวณโดยใช้สูตร
P=E2/R (P=Eยกกำลัง2/R)
โดย P =กำลังของเครื่องขยาย
E=แรงดันที่วัดได้จากตัวต้านทาน
R= ค่าของตัวต้านทาน
ตัวอย่าง
วัดแรงดันที่ตัวต้านทานได้ 35 โวลท์ กำลังของเตรื่อง = 35 2 /8
= 153 W

2.ระบบกำลังแบบไดนามิค มิวสิค เพาเวอร์(Dynamic Music Power)
ระบบนี้รับรองโดยสถาบัน ไฮไฟ ( Institute of High Fidelity) เรียกสั้นๆว่า IHF โดยการใช้ความถี่ที่ 20-20,000Hz ขนาด 1โวลท์ป้อนที่เครื่องขยาย แล้วพล็อทเคอฟหาค่ากำลังที่เครื่องสามารถให้ได้ในทุกความถี่ ซึ่งจะพบว่าค่าที่ได้จะสูงกว่าค่า RMS ถึง 0.7 เท่า ตัวอย่าง
วัดกำลังแบบ Music Powerได้ 70 W IHF จะเป็น RMS = 70x.0.7 = 49 W RMS

3.ระบบกำลังแบบอินแทนทาเนียส พีคเพาเวอร์ (Istantaneuos Peak Power)
ระบบนี้ใช้ชื่อย่อว่า IPP เป็นระบบที่หากำลังสูงสุดของเครื่องขยายที่จะทำได้ในช่วงเวลา 2-3 มิลลิเซคคัล ค่าที่ได้จะมีค่าสูงมากเนื่องจากจ่ายกำลังในช่วงสั้นๆ โดยปรกติจะมีค่า ประมาณ 0.05เท่าของ RMS

ตัวอย่าง

วัดกำลังได้ 220 W IPP จะเป็น RMS = 220 x 0.05
= 11 W RMS
ค่ากำลังแบบนี้เป็นการใช้เพื่อการค้าเท่านั้น จะพบมากในเครื่องโนเนมเป็นส่วนมาก

ที่มา:ประกิต อ่องสร้อย ,
1ไฟฟ้า-อีเลคทรอนิคส์ ปีที่ 1ฉบับที่ 7
2 Electronics Edition2                  
                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น